การไปล่องแม่น้ำปิง จึงไม่ใช่การไปดูพลิดเพลินกับทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นการค้นหาร่องรอยอดีตที่เคยรุ่งเรืองของสายน้ำที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวใจของแผ่นดินล้านนา ที่ปัจจุบันดูเหมือนจะอ่อนล้าโรยแรงเต็มที....
ใครที่มีโอกาสล่องลำน้ำปิงในยุคปัจจุบัน คงยากจะนึกภาพการสัญจรในลำน้ำนี้ในยุคสมัยก่อน
สมัยที่ลำน้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมสายเดียวที่จะเชื่อมยึดดินแดนล้านนากับกรุงเทพฯเข้าด้วยกัน ว่ากันว่า ในสมัยนั้นเจ้าแห่งลำน้ำปิง คือ เรือขุดที่เรียกว่า เรือหางแมงป่อง หรือ เรือแม่ปะ ซึ่งเป็นเรือขุดขนาดใหญ่ ปากเรือกว้าง ส่วนหัวของเรือยาวยื่นออกไป เชิดขึ้นเล็กน้อย ตอนท้ายเรือแยกเป็นสองแฉก โขนท้ายต่อให้งอสูงขึ้น มีประทุนค่อนไปทางซ้าย การที่โขนท้ายเรืองอนสูงขึ้น จึงได้ชื่อว่า เรือหางแมงป่อง

เรือหางแมงป่องได้สูญหายจากลำน้ำปิงเป็นเวลานานปี เมื่อผู้คนหันมาใช้การคมนาคมทางรถยนต์และรถไฟแทน จนมาถึงยุคสมัยที่การท่องเที่ยวกลายเป็นกระแสหลักของโลก การเดินทางในลำน้ำปิงโดยเรือหางแมงป่องจึงเกิดขึ้นใหม่ แต่แปรเปลี่ยนไปเพื่อตอบรับการท่องเที่ยวแทน และเรือหางแมงป่องยุคใหม่ไม่ได้ขุดจากไม้ทั้งต้นเหมือนสมัยก่อน เชื่อว่าเรือแม่ปะ หรือเรือหางแมงป่องนี้ถูกพัฒนาขึ้นในแถบภาคเหนือตอนล่าง แถวจังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ เนื่องจากเรือชนิดนี้กินน้ำตื้น สามารถถ่อทวนสายน้ำได้ไม่ยาก และยังทนต่อแรงกระแทกของหินใต้น้ำได้ดี จึงเหมาะสำหรับการสัญจรในลำน้ำปิงซึ่งมีเกาะแก่งหินอยู่มาก เรือแบบนี้ในอดีตใช้บรรทุกสินค้าขึ้น ล่องระหว่างภาคเหนือกับภาคกลาง สามารถบรรทุกสินค้าได้ราวสองตันครึ่ง การล่องลงไปค้าขายต้องล่องลงไปเป็นขบวนอย่างน้อย 2 ลำ เพราะลูกถ่อของเรือทั้ง 2 ลำต้องช่วยกันชักลากเรือขึ้นจากแก่งในเที่ยวกลับ สมัยนั้นใช้เวลาเดินทางไปกลับระหว่างกรุงเทพฯเชียงใหม้ครั้งหนึ่งๆประมาณ 2-3 เดือน.

เรือแล่นลอยอยู่ในลำน้ำปิงประมาณ 2 ชั่วโมงทุกคนสนุกสนานและมีความสูขบนสายน้ำแห่งเวียงพิงค์. เรือที่มีที่นั่งพิเศษจำนวน 30 ที่นั่ง เวลา 19.30 pm.